มข. ผนึก บพข. เปิดตัว โครงการวิจัย “Ugly Veggies Plus เทคโนโลยีหนุนเศรษฐกิจ BCG สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2567  เวลา  09.30 – 13.00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน วิทยาลัยนานาติ ร่วมกับ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้การกำกับของสำนักสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช. ) เปิดตัว โครงการวิจัยเรื่อง “Ugly Veggies Plus – การต่อยอดแบบจำลองธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยี การตรวจสอบย้อนกลับและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการส่งออกของสินค้าอาหารอินทรีย์อย่างยั่งยืน”  ณ ห้องประชุม Kandhavas Place โรงแรม The Athenee Hotel Bangkok

 

ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับนักวิจัย  นักวิชาการ  เจ้าของสถานประกอบการ และสื่อมวลชน  จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณินี นฤธาราดลย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน  วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานสรุปโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์  ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)กล่าวเปิดงาน

ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์  ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ภายใต้การกำกับของสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มีภารกิจในการสนับสนุนทุนวิจัยเพื่อยกระดับผู้ประกอบการโดยเร่งให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปสร้างผลิตภัณฑ์และบริการมูลค่าสูงเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจสร้างคุณค่าสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการวิจัย “Ugly Veggies Plus ฯ” ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยเป็นระยะเวลา 1 ปี มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของ บพข. เป็นอย่างยิ่ง ในการขับเคลื่อนการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการส่งออกของสินค้าอาหารอินทรีย์อย่างยั่งยืน โดยนำเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำมาประยุกต์ใช้ในโครงการวิจัยนี้

 

             ศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้และสร้างนวัตกรรมในชุมชนและสังคม โดยมีการเน้นให้การศึกษาและการวิจัยสอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของภาคอีสาน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนในภาคอีสาน ผ่านการจัดกิจกรรมทางวิชาการ วัฒนธรรม และการบริการวิชาการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมในภาคอีสาน มีพันธกิจในการร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนมากมาย เพื่อผลิตผลงานวิจัยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน อาทิ บพข.คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ และสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

           ดร. ภาณินี นฤธาราดลย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน  วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวถึงวัตถุประสงค์และสรุปโครงการวิจัย  ว่า โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางธุรกิจสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับของอาหารอินทรีย์โดยใช้เทคโนโลยี บล็อกเชน (Blockchain)  ได้แก่ เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับอาหารอินทรีย์ 4 ประเภท คือ ผักอินทรีย์ออนไลน์ อาหารร้านอาหารออร์แกนิก ซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าเกษตรอินทรีย์สด และ ซูเปอร์มาร์เก็ตแปรรูปอาหารออร์แกนิก  ทั้งนี้ยังมีสูตรอาหารออร์แกนิกสามสูตรพร้อมแอพพลิเคชั่นบล็อคเชนและการประเมินโภชนาการ   ตลอดจนการศึกษาวิทยาศาสตร์พลเมืองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ของผู้บริโภคและสังคมการสื่อสารและการเปรียบเทียบแบบจำลองการตรวจสอบย้อนกลับของบล็อคเชนผ่านอาหาร 4 ประเภทที่ได้กล่าวไปข้างต้น  นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ และ ปุ๋ยจากผลพลอยได้ของเศษผักอินทรีย์ และท้ายสุดคือการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของธุรกิจอาหารอินทรีย์นี้โดยจำลองและจัดหาผลลัพธ์ให้กับแพลตฟอร์มดิจิทัลบล็อคเชน  และเพื่อถ่ายทอดผลงานวิจัย (เทคโนโลยีและความรู้) สู่ผู้บริโภคเกษตรกร ซัพพลายเออร์ด้านลอจิสติกส์ และเครือข่ายธุรกิจ

นอกจากนี้ ดร. ภาณินี ได้สรุปภาพรวมของโครงการวิจัยฯ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมย่อยมีดังนี้ กิจกรรมย่อยที่ 1 นวัตกรรมเทคโนโลยีการตรวจสอบย้อนกลับ กิจกรรมย่อยที่ 2 นวัตกรรมอาหารโปรตีนสูง กิจกรรมย่อยที่ 3 นวัตกรรมดินพร้อมปลูก กิจกรรมย่อยที่ 4 นวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ กิจกรรมย่อยที่ 5 Life Cycle Assessment และ กิจกรรมย่อยที่ 6 Citizen Sciences Consumer Behavior, Marketing and Business Model and Financial Forecast นอกจากนี้ โครงการวิจัย Ugly Veggies Plus ฯ มีบริษัทที่ร่วมทุน จำนวน 2 บริษัท คือ 1) บริษัท เออาแซดไอโอ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีแนวหน้าที่อยู่ประเทศไทยมานานกว่า 10 ปี และมีบริษัทในเครืออยู่หลายบริษัท บริหารงานโดย คุณอภิชัย เรืองศิริปิยะกุล ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวาง และ 2) บริษัท WEAL consultant จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า Jelly Joy Fiber

ในโอกาสนี้ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการมาเยือนของทุกท่านในวันนี้จะเป็นโอกาสอันดีในการเรียนรู้และพัฒนาความร่วมมือทางด้านวิชาการในด้านต่างๆมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การพัฒนาทางด้านวิชาการและการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายพันธมิตรโครงการวิจัยจากวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

         

        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิริมนพร ทิพสิงห์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวปิดท้ายว่า  มีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างพลังแก่ประชากรโลกและสร้างเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนผ่านการศึกษา วิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาชุมชน ที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ศูนย์นวัตกรรมและสังคมแห่งความยั่งยืน วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยขอนแก่น มุ่งส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการสู่สากล ดําเนินการภายใต้ขอบเขตเชิงวิชาการโดยใช้องค์ความรู้สาขาธุรกิจอย่างบูรณาการเป็นหลัก และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือสาขาวิชาอื่น เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพของผู้ประกอบการเป็นสําคัญ โครงการวิจัยเรื่อง “Ugly Veggies Plus – การต่อยอดแบบจำลองธุรกิจบนพื้นฐานของเทคโนโลยี การตรวจสอบย้อนกลับและเศรษฐกิจหมุนเวียนคาร์บอนต่ำเพื่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการส่งออกของสินค้าอาหารอินทรีย์อย่างยั่งยืน”  สอดคล้องกับนโยบายรัฐ ในการผลักดัน โมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ที่ผสมผสานการพัฒนา 3 ด้านหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน  พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการด้านธุรกิจเพื่อการพัฒนาประเทศและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

KKU joins PMUC to launch “Ugly Veggies Plus” research project, a technology supporting BCG economy and building a low-carbon society

https://www.kku.ac.th/17888

 

Scroll to Top