คณะศิลปกรรมศาสตร์มุ่งสู่ความเป็นเลิศด้วยเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา ExPEx300

สืบเนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมให้การต้อนรับและพร้อมรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : ExPEx300 รุ่นที่ 6  จากผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สป.อว.

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้เดินทางมาครั้งนี้ประกอบไปด้วย 1.อ.วรวุฒิ แจ้งศุภนิมิต ประธานกรรมการ(กรรมการผู้จัดการบริษัท แอ๊ตต้าอุตสาหกรรม จำกัด) 2.รศ.อนันต์ มุ่งวัฒนา กรรมการ (ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)  3.ผศ.รสริน โอสถานันต์กุล  กรรมการ (คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 4. ดร.อรสา  ภาววิมล อนุกรรมการ (รองเลขาธิการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา) และ5.นางสาวศุภลักษณ์   โอสถานนท์ ผู้ประสานงาน

ผลจากการตรวจประเมินครั้งนั้นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาความพร้อมตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษา ExPEx 300 ในด้านต่าง ๆ ที่ทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีการจัดทำและจัดเก็บข้อมูลส่งไปให้คณะกรรมการพิจารณา ซึ่งผลสรุปออกมาอย่างเป็นทางการณ์เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2566 ที่ผ่านมา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการรับรองจาก สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : ExPEx300 รุ่นที่ 6

EdPEx ย่อมาจาก “Education Criteria for Performance Excellence” หรือ“เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ” ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการตามแนวทางของเกณฑ์ Malcolm Baldrige National Quality Award: MBNQA ที่เป็นต้นแบบของรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award: TQA)  เกณฑ์ EdPEx คือกรอบที่ทำให้มอง/คิดและบริหารองค์กรในเชิงระบบ (มองทุกระบบเชื่อมโยงกันหมด) และช่วยให้ในการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน จากจุดเน้นที่เป็นเรื่องหลักของสถาบัน

จุดเด่นของการนำ EdPEx เข้ามาในระบบการศึกษาจะช่วยให้สถาบันทางการศึกษาค้นพบและใช้จุดแข็งของตนในการพัฒนาและเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ยังเอื้อให้สถาบันทางการศึกษาสามารถระบุประเด็นที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

1.คุณลักษณะที่สถาบันจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ และประสบความสำเร็จในระยะยาว ในสภาวะแวดล้อมด้านการศึกษา

2.การทำให้ผู้นำ ผู้บริหารแต่ละระดับ และบุคลากรทั้งหมดเห็นภาพเดียวกัน

3.การทำให้มั่นใจว่าบุคลากรเข้าใจและร่วมขับเคลื่อนสถาบันไปสู่ความสำเร็จ

4.การทำความเข้าใจ และตอบสนอง หรือทำได้เหนือกว่าความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น

5.การทำให้มั่นใจว่า การดำเนินการของสถาบันมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่ความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาว

 

 

 

 

Scroll to Top