KKBS จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “Khon Kaen Tourism in Digital Era” ผนึกกำลังเครือข่ายขับเคลื่อนการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่นในยุคดิจิทัล

ระหว่างวันที่ 21-22 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค (CAPTOUR) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Khon Kaen Tourism in Digital Era: Networking, Strategic Planning and Academic Integration ณ ห้องเจิมขวัญ โรงแรมบายาสิตา จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น
และขับเคลื่อนการท่องเที่ยวในจังหวัดขอนแก่นยุคดิจิทัล โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากสถาบันการศึกษาที่สอนด้านการท่องเที่ยวและบริการ
ในจังหวัดขอนแก่น และผู้สนใจจากภาคเอกชน

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์สุทธิ พื้นแสน คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

สำหรับการจัดโครงการอบรมดังกล่าวนั้น มีกิจกรรมการเสวนา ในหัวข้อ “การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่นในยุคดิจิทัล และแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเสวนาคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์สุทธิ พื้นแสน คณบดีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น คุณชาญณรงค์ บุริสตระกูล ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น คุณภพพล เกษมสันต์ ณ อยุธยา ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น และ คุณศศมณฑ์ มหาศิริกุล
นายกสมาคมท่องเที่ยวและไมซ์จังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้ดำเนินการเสวนาคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมษ์ธาวิน พลโยธี
และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดลฤทัย โกวรรธนะกุล

(กิจกรรมการเสวนาหัวข้อ “การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่นในยุคดิจิทัล และแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น”)

จากนั้นเป็นกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมสู่การวางแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น” และกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การสร้างเครือข่ายผู้พัฒนาบุคลากรสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่นในยุคดิจิทัล” และการอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “การสร้างมาตรฐานวิชาชีพการท่องเที่ยวภายใต้ ASEAN MRA-TP เพื่อพัฒนาบุคลากรสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่นในยุคดิจิทัล” วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมษ์ธาวิน พลโยธี
ผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค และ ดร.จินณพัษ โดมินิค รองผู้อำนวยการศูนย์การท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิค ในการอบรมครั้งนี้ ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายท่องเที่ยวที่เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา ภาคเอกชน และองค์กรภาครัฐในการพัฒนาการท่องเที่ยว บุคลากรท่องเที่ยว และหลักสูตรด้านการท่องเที่ยวและบริการให้มีมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

Scroll to Top