มข. รับนโยบายรัฐ New S-curve ชูนวัตกรรมและวิสาหกิจ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่

ประเทศไทยพยายามจะขับเคลื่อนนโยบายด้านเศรษฐกิจต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาหลายปี รวมถึงคณะรัฐมนตรีปัจจุบันได้มีมติเห็นชอบเกี่ยวกับข้อเสนอ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ First S-curve เป็นการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วในประเทศ ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ  รัฐบาลปัจจุบันจึงเสริมนโยบาย New S-curve ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ให้สำเร็จ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะสถาบันการศึกษาโดยมีวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลก  มีเป้าหมาย (Goals) หนุนการเรียนรู้ วิจัย นวัตกรรมและวิสาหกิจ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงาน และเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น จึงวางแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี 2567-2570   ขับเคลื่อน งานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง ขณะเดียวกันต้องเกิดผลกระทบเชิงสังคม เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคมอุตสหกรรมไทยให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐ

ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ   รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยว่า ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ จะเป็นการทำงานเชื่อมโยงกับฝ่ายวิจัย มีพันธกิจนำวิจัยที่เป็นพื้นฐานหรือการประยุกต์ มาต่อยอดเชิงพาณิชย์เชิงสังคม โดยมีงานวิจัย 3 กลุ่มใหญ่ที่โฟกัส ได้แก่ ด้าน Future Food and Feed  Green energy Health and Wellness เพื่อผลักดันงานวิจัยให้ไปสู่เชิงพาณิชย์ให้ได้  กลุ่มแรก วิจัยกลุ่มอาหารแห่งอนาคตทั้งมนุษย์และสัตว์ (Future Food and Feed)

“เราจะมองว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพืชผักอะไร ที่สามารถเพิ่มมูลค่ามีคุณค่าต่อสุขภาพ เน้นวัตถุดิบจากอีสาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านมูลค่าแต่ก็ขณะเดียวกันย้อนกลับมาที่เศรษฐกิจในระดับชุมชนด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ จากงานวิจัย ที่เหมาะกับเด็กและผู้สูงวัยที่กลืนลำบาก หรือกลุ่มอาหารเสริมต่างๆ แผนการทำงานในกลุ่ม อาหารแห่งอนาคต เราอยากได้ภาคเอกชน หรือ บริษัท มาไลเซ่นผลงานวิจัยของนักวิจัยออกไป สู่เชิง พาณิชเพื่อผลิตหรือ จำหน่ายในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อเป็นประโชน์กับสังคม”

กลุ่มต่อมา คือ วิจัยกลุ่มพลังงานสะอาด (Green energy) ปัจจุบันมหาวิทยาลัยฯ โฟกัสเรื่องแบตเตอรี่ไฮโดรเจนมีเทน มีเป้าหมายในการเข้าสู่อุตสาหกรรมให้ได้  นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งโรงงานแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออนแบตเตอรี่ และโซเดียมไอออนแบตเตอรี่ ซึ่งวิจัยชิ้นนี้มีศักยภาพในการแข่งขันในระดับโลก  ช่วยสนับสนุนขับเคลื่อนด้านพลังงานสีเขียวยั่งยืน ตลอดจนเป็นขุมพลังงานของอนาคต เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ

กลุ่มสุดท้าย  อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ Health and Wellness หลังจากสถานการณ์โควิดประชากรโลกให้ความสำคัญในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีโรงเรียนแพทย์ มีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีศักยภาพสูงมาก ทั้งโรงพยาบาลศรีนครินทร์และ ศูนย์บริการทางการแพทย์ชั้นเลิศ (SMC: Special Medical Center) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  จัดตั้งศูนย์เซลล์บำบัดรวมถึงกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็น HUB Medical Center ในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง สามารถพัฒนาเป็น อุตสาหกรรมการแพทย์ขนาดใหญ่ได้ในอนาคต ซึ่งอาจนำไปสู่การดึงเม็ดเงินจากต่างชาติเข้ามาในด้านการท่องเที่ยวเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น การรักษาโรคและมาฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ ดังนั้นสิ่งที่ได้ไม่ได้เพียงคณะแพทย์ แต่ยังรวมไปถึงการ กระตุ้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งหมดอีกด้วย

ซึ่ง 3 กลุ่มวิจัยที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้ความสำคัญนี้ สอดคล้องกับ New S-curve อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของรัฐบาลอย่างยิ่ง  อาทิ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)  อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)   และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)  นับเป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยที่รัฐบาลมองว่าจะเติบโตในอนาคต

รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  กล่าวถึงการขับเคลื่อนงานวิจัยทั้ง 3 ด้านว่า   “มหาวิทยาลัยขอนแก่น โฟกัส 3 อุตสาหกรรมนี้  สืบเนื่องจาก การอยู่ในกลุ่ม 12 อุตสาหกรรม New S-curve ของรัฐบาล  ซึ่งเป็น 3 อุตสาหกรรมที่อยู่ในยุทธศาสตร์ประเทศ  ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีศักยภาพครบทุกด้าน ทั้งบุคลากร องค์ความรู้ และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่อีสาน แม้ในสถานการณ์วิกฤติโควิดยังสามารถบริหารจัดการได้อย่างดีเยี่ยม โดยโรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็น totally hospital  สามารถรักษาโรคสลับซับซ้อนได้ ”

ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากจะผลิตนวัตกรรม วิจัย องค์ความรู้ เพื่อนำเสนอ กระตุ้นให้เอกชนทราบว่าเรามีทรัพย์สินทางปัญญา ยังมุ่งผลิตบัณฑิตอันเป็นที่พึงประสงค์แก่สังคม อีกด้วย

รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  เผยว่า   “นอกจากนี้ Industry กับ contribution ซึ่งมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนทั้ง 2 กลุ่มและทำไปร่วมกัน ถ้าสังคมในชุมชน มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจที่ดีขึ้น พวกเขาก็จะมีงบประมาณส่งรูปส่งหลานมาเรียน ที่มหาวิทยาลัย ซึ่งก็จะหมุนวนมาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในอนาคตนั่นเอง”

          “ทั้งนี้ เรานำเสนอเอกชนให้ทราบว่า เรามี deep tech deep science อะไรบ้างที่จะนำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ up scale ให้เอกชนเห็นว่าสามารถนำวิจัยชิ้นนี้ไปขายทำเงินให้กับเอกชนและประเทศได้ สำคัญคือนำทรัพย์สินทางปัญญา ผลงานของมหาวิทยาลัย ไปขายหรือถ่ายทอดให้กับเอกชน เพื่อนำไปผลิตและจำหน่าย เพื่อการเติบโตโดยรวมของประเทศ เช่น เมื่อภาคเอกชนซื้อ ทรัพย์สินทางปัญญาผลงานของมหาวิทยาลัย ไปขยายขนาดเป็นอุตสาหกรรม รายได้ก็จะกลับมาที่ประเทศ ประเทศก็จะได้ภาษี นำมาสู่งบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรสู่มหาวิทยาลัยเป็นวงจร วิจัยเพื่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่นำมาซึ่งเศรษฐกิจชาติอย่างครบวงจร”       

ฉะนั้นงานวิจัยและนวัตกรรม เชิงพาณิชย์ มองในมูลค่าแทบจะประเมินค่าไม่ได้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผลิตบัณฑิตและบริการวิชาการสู่ชุมชน  เอกชนนำไปต่อยอด  เกิดอิมแพคกับสังคมเป็นวงกว้าง ชุมชนรอบตัวสามารถช่วยเหลือตัวเอง ลดค่าใช้จ่าย บุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยไปช่วยขับเคลื่อน ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจจึงไม่ใช่ทำงานเพื่อการขายอย่างเดียว แต่คำนึงถึงว่าประโยชน์ต้องกลับมาสู่ชุมชนและสังคมด้วย

 “สิ่งที่พยายามทำอยู่คือชุมชนได้ประโยชน์อะไรจากนวัตกรรม นำนวัตกรรมไปขับเคลื่อน ชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เขามีเศรษฐกิจฐานะที่ดีขึ้น โดยใช้องค์ความรู้วิจัยและนวัตกรรมของเรา รวมไปถึงการบูรณาการความรู้กับภาคส่วนอื่นๆไปปิดช่องว่างตรงนี้ให้ได้ เพื่อให้ชุมชนอยู่ได้ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต”  รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ กล่าวทิ้งท้ายอย่างน่าขบคิด

มหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยอุทิศเพื่อสังคม Social devolution เพียงอย่างเดียว แต่ยังทำหน้าที่พัฒนาสร้างสรรค์ นำวิจัยต่อยอดเพื่อสังคมรุ่นลูกหลานในยุคถัดไป

Scroll to Top