คณะนิติฯ มข. เปิดเวทีศึกษาวิจัยรับฟังความคิดเห็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. ป้องกันการทรมานและอุ้มหายฯ

คณะนิติศาสตร์ มข. เปิดเวทีศึกษาวิจัยรับฟังความคิดเห็นปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. ป้องกันการทรมานและอุ้มหายฯ เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงข้อกฎหมายในอนาคต

รองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น
วันที่ 28 พฤษภาคม 2567 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการบริการวิชาการและการวิจัย เรื่อง “ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565” โอกาสนี้ รองศาสตราจารย์วนิดา แสงสารพันธ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้กล่าวเปิดโครงการบริการวิชาการและการวิจัยภายใต้ยุทธศาสตร์ในการบริหารเครือข่ายทางวิชาการเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมทางกฎหมายเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม (Collaboration and Co-Creation for Knowledge and Innovation)

โครงการบริการวิชาการและการวิจัยในครั้งนี้มีอาจารย์ ดร.สุชาติวัฒน์ ณัฎประเสริฐ และอาจารย์บุษกร ปราบ ณ ศักดิ์ ไทยเสถียร เป็นหัวหน้าโครงการ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (Focus Group) จากผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อันได้แก่ พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล เจ้าหน้าที่คุ้มครองสิทธิจังหวัด เป็นต้น

การรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการที่ผู้ต้องหาได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายที่มีกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้การค้นหาความจริงในคดีอาญานั้นมีความเบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริงจากการกระทำโดยไม่ชอบของเจ้าพนักงานที่ทำการทารุณหรือการทรมาณให้ผู้ต้องหานั้นยอมรับสารภาพหรือแม้แต่การกระทำถึงขั้นทำลายพยานบุคคลที่มีความสำคัญให้ไม่สามารถเข้ามาให้ความจริงแก่ศาลได้ รวมถึงแนวความคิดในการป้องกันคุ้มครองการกระทำที่เป็นการทรมาณหรือทารุณตลอดจนทำให้บุคคลสูญหายไปเพราะการกระทำของเจ้าหน้าที่จึงเกิดขึ้นและเพื่อให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ที่จำเป็นต้องสร้างมาตรการทางกฎหมายขึ้นมาเพื่อคุ้มครองไม่ให้เกิดการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้เพื่อให้เกิดหลักการปฏิบัติที่ดีมีความเหมาะสมในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความสบายใจในการปฏิบัติของเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ คณะผู้วิจัยจะได้รวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอแนะแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายให้เกิดความเหมาะสมในสภาวะการณ์ในปัจจุบันอันจะส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายนั้นเกิดประสิทธิภาพต่อไป
Scroll to Top