สถาปัตย์จัดประชุมวิชาการระดับชาติ ”โฮมภูมิ” และ “ BTAC ”

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายภาคีสมาชิก 7 สถาบัน ครั้งที่ 5 ประจำปีงบประมาณ 2567 ภายใต้แนวคิด “โฮมดี มีแฮง – Well-Being Together” และ  การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “เดินหน้าคาร์บอนต่ำ-Going Low Carbon” ครั้งที่ 8 ประจำปีงบประมาณ 2567  โดยมี รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในงาน รศ.ดร.ชูพงษ์ ทองคำสมุทร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ กล่าวรายงาน ในการประชุมวิชาการนี้มี คณาจารย์  นักวิชาการ นักศึกษา ร่วมกิจกรรมมากกว่า 100 คน  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ.2566 ได้ดำเนินการจัดการสำหรับ 2 การประชุมพร้อมกัน ประกอบด้วย โครงการประชุมวิชาการเครือข่ายภาคีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ในภาคอีสาน สมาชิก 7 สถาบัน ครั้งที่ 5 ประจำปีงบประมาณ 2567 “โฮมดี มีแฮง – Well-Being Together” ขอบเขตหัวข้อ การประชุม สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง (Architecture and Built environment)  , การออกแบบชุมชนเมืองและการวางผัง (Urban design and Planning) นวัตกรรมและเทคโนโลยี , อาคารตามแนวคิดสถาปัตยกรรมสีเขียว การออกแบบอุตสาหกรรมและงานสร้างสรรค์ (Industrial and Creative design)
และ การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม “เดินหน้าคาร์บอนต่ำ-Going Low Carbon” ครั้งที่ 8 ประจำปีงบประมาณ 2567 ขอบเขตหัวข้อการประชุม พลังงานและสิ่งแวดล้อมกับสถาปัตยกรรม และพลังงานและสิ่งแวดล้อมกับเมือง  ซึ่งทั้ง 2 การประชุม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีสำคัญในการเผยแพร่ผลงานวิจัย และองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางวิชาการและการวิจัย  มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นในหมู่ของนักวิชาการ นักวิจัย นักออกแบบ พร้อมกับพัฒนามาตรฐานในการผลิตผลงานสู่ระดับสากลต่อไป

โดยในช่วงแรก มีการบรรยายพิเศษ โดยองค์ปาฐก (Keynote Speaker) จํานวน 2 ท่าน  หัวข้อบรรยาย การออกแบบนิเวศน์สถาปัตย์ Ecological Architecture” โดย คุณคำรน สุทธิ  สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Eco Architect และ หัวข้อ “PDM BRAND: Product design, creative communication and stand out strategies”  โดย คุณณภัทร พงษ์พนัสนุกุล  Head designer  แบรนด์ PDM

ช่วงที่สองเป็นการนำเสนอบทความวิชาการ โดยแบ่งเป็น 4 ห้อง ดังนี้  ห้อง 1  โฮมภูมิ-สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง ห้อง 2 โฮมภูมิ-การออกแบบชุมชนเมืองและการวางผัง  ห้อง 3     โฮมภูมิ-สถาปัตยกรรมภายในและมัณฑณศิลป์ – การออกแบบและงานสร้างสรรค์ และห้อง 4 ประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (BTAC)

ข่าว : กรรณภัสส์ สิริเกียรติ
ภาพ : จักริน เงินทอง และ กรรณภัสส์ สิริเกียรติ

Scroll to Top