มข.ร่วมกับ กทศ.และ สพฐ.เปิดอบรมหลักสูตร Up-Skill/Re-Skill หวังเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตัวเอง แก่บุคลากรใกล้ชิดกับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการอบรมหลักสูตร “การช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ” รูปแบบออนไลน์ โดยเป็นหลักสูตรระยะสั้น (์Non-Degree) โดยมีการเปิดการอบรมเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2566 โดย รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วยคณะวิทยากร นำโดย ศ.ดร.สุมาลี ชัยเจริญ อ.ดร.สมพร หวานเสร็จ รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ อ.ดร.สามารถ สิงห์มา และ ดร.พิญญารัศม์ สิงหะ

หลักสูตร “การช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ” โดยความร่วมมือระหว่าง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำหรับคนพิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามกรอบหลักสูตรการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในรูปแบบชุดหลักสูตรระยะสั้นแบบสะสมเครดิต สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ จำนวน 10 รายวิชา ซึ่งได้รับได้รับความสนใจจาก ครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ, ครูผู้สอนในสถานศึกษา, บุคลากรทางการแพทย์, นักจิตวิทยา, และผู้ทำงานในสาขาอื่น ๆ รวม 1,904 คน ที่ต้องการพัฒนาทักษะและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

“Early Intervention: EI” เป็นแนวคิดหรือกลยุทธ์การช่วยเหลือที่เน้นการดำเนินการและให้การสนับสนุนกับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษตั้งแต่ช่วงระยะเวลาแรกของการเจริญเติบโต ซึ่งเน้นที่การส่งเสริมพัฒนาการทางกายภาพ, สังคม, ความสามารถในการเรียนรู้, พัฒนาทักษะพื้นฐาน, และพัฒนาทักษะทางการสื่อสาร ในบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นพัฒนาการของบุคคลในด้านต่าง ๆ และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว โดยการให้การช่วยเหลือที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพต่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษและครอบคลุมด้วยบริบททางสังคม ซึ่งจะสามารถช่วยให้บุคคลที่มีความต้องการพิเศษมีโอกาสพัฒนาทักษะและศักยภาพในการทำงานและชีวิตประจำวันในระดับที่ดีขึ้น และเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ Life-Long Lerning แก่บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ

Scroll to Top