โครงการโคบาลอาสา ความร่วมมือจากคณะเกษตรศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มข. ผนึกกำลัง KKU U2T โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล ลุยสกัดโรคระบาดลัมปีสกิน ในโค-กระบืออีสาน

โครงการโคบาลอาสา ลุยสกัดโรคระบาดลัมปีสกิน ในโค-กระบืออีสาน
จากสถานการณ์โรคระบาดใหม่ในโค-กระบือ ที่เรียกกันในชื่อโรค “ลัมปี สกิน (Lumpy skin desease)” เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ประกอบกับเกษตรกรยังขาดความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ รวมถึงขาดยารักษา และขาดสัตวแพทย์ สัตวบาล เข้าไปช่วยเหลือ คณะเกษตรศาสตร์ จึงร่วมกับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จัดตั้งโครงการโคบาลอาสา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยลงพื้นที่ร่วมกันกับโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยขอนแก่น KKU U2T
ทีม U2T คณะเกษตรศาสตร์ มข.
ทีม U2T คณะเกษตรศาสตร์ มข.

รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูร คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึง โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin desease)  ว่า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีรายงานโรคอุบัติใหม่ในโค กระบือ คือ Lumpy skin desease  ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส มีรายงานอัตราการตาย 5-10 % และคนที่มีทุกข์มากเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ คือ เกษตรกร ผู้เป็นเจ้าของสัตว์ เพราะหมายถึงการสูญเสียรายได้จำนวนมาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะเกษตรศาสตร์ ตั้งขึ้นมาบนปณิธานของการเป็นมหาวิทยาลัย ที่เป็นพึ่งพิงของสังคม โดยเฉพาะภาคอีสานของเรา ณ ปัจจุบัน ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล หรือ U2T ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือ อว. ซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการอยู่กว่า 3000 ตำบล ภายใต้โครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่นรับผิดชอบ 135 ตำบล และคณะเกษตรศาสตร์ รับผิดชอบ 17 ตำบล กระจายในหลายจังหวัด มีบัณฑิตจบใหม่ 8 คน และชาวบ้าน อีก 5 คน และนักศึกษา อีก 5 คน อยู่ในพื้นที่ นั่นหมายความว่า มหาวิทยาลัยสามารถเป็นทัพหน้าในการบรรเทาปัญหาเฉพาะหน้านี้ก่อน

คณะเกษตรศาสตร์ โดย รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ รวมทั้งคณาจารย์ในสาขาสัตวศาสตร์ และคณาจารย์คณะสัตวแพทย์ ร่วมกับ U2T Team ของคณะ จัดทำระบบการรับมือ ทำโครงการโคบาลอาสา  มข.อาสา ลงให้ความรู้ และรักษาสัตว์ โดยเริ่มต้นที่พื้นที่รับผิดชอบของคณะเกษตรศาสตร์ และได้นำเรียนปัญหาเร่งด่วนกับ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาก รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ที่รับผิดชอบ KKU U2T  โดยท่านรองอธิการบดีธิดารัตน์ ได้นำไปขยายผลขอความร่วมมือกับ U2T ในตำบลต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ และทุกคณะก็ขานรับในการโครงการนี้เป็นอย่างดี

คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ยังกล่าวต่ออีกว่า นอกจากนั้น คณะฯ ยังให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อพานักศึกษาทุกสาขาที่สมัครเข้าร่วมโครงการนี้ลงพื้นที่ แม้ว่าทุกคนจะกังวลเรื่องโรคระบาด            ของ COVID แต่ทุกคน Share The Pain ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงาน ภายใต้มาตรการ DMHTT   โดยทีมงานเริ่มลงพื้นที่มาระยะหนึ่งแล้ว และได้รับแจ้งว่า “กำลังทำแผนร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น ขอความร่วมมือนักศึกษา 90 คน เข้าพื้นที่ฉีดวัคซีน 900 ตัว ในพื้นที่ 3 อำเภอจังหวัด

รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้นำทีมโครงการโคบาลอาสา
รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้นำทีมโครงการโคบาลอาสา

รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้นำทีมโครงการโคบาลอาสา  กล่าวว่า ในฐานะผู้นำทีมลงพื้นที่ เข้าใจถึงความรู้สึกของพี่น้องเกษตรกรดีว่า พวกเขามีความรู้สึกว่าไม่อุ่นใจ เนื่องจากขาดความรู้ ขาดยารักษา และขาดสัตวแพทย์ สัตวบาลเข้าไปช่วยเหลือ โค-กระบือ ที่เป็นโรค “ลัมปี สกิน (Lumpy skin desease)” โดยสัตว์ที่ป่วยจะมีอาการไข้สูง พบตุ่มตามตัว ติดเชื้อแทรกซ้อน หากไม่ทำการรักษา อาจตายได้ แม้ว่าปัจจุบันการแพร่ระบาดติดเชื้อประมาณร้อยละ 10 ของประชากรโค-กระบืออีสาน แต่การติดเชื้อส่งผลทำให้สูญเสียมีโคตาย                        ซึ่งช่วงร้อยละ 5 ถึง 12 ของประชากร โค-กระบือป่วยสะสม (อัตราการตายร้อยละ 1 ของฝูง ตามมาตรฐานสากล) ดังนั้น คาดว่า ใน 3-6 เดือนหน้า โรคระบาดนี้จะรุนแรงเพิ่มขึ้นส่งผลกระทบเกษตรกรในจังหวัดภาคอีสานมีวัวล้มตายประมาณ 4 แสนกว่าตัว ๆ ละ 40,000 บาท มูลค่าเสียหาย 16,800 บาท  หรือระดับตำบลวัวตายประมาณ 92 ตัว มูลค่า 3.6 ล้านบาท หรือ 450,000 บาทต่อหมู่บ้าน ระดับเกษตรกรรากหญ้าคาดว่ามีวัวล้มตาย 1-2 ตัวต่อราย เนื่องจากเป็นโรคระบาดใหม่ เราขาดความรู้และการถ่ายทอดความรู้ถึงเกษตรกร ภาครัฐเข้าช่วยเหลือไม่ทันท่วงที เนื่องจากปลายปีงบประมาณ และขาดบุคลากร เกษตรกรรับมือไม่ทันเนื่องจากขาดความรู้ ไม่มีร้านขายยาสัตว์ในหมู่บ้าน/ตำบล ควรบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาโรคระบาดใหม่ในโค-กระบืออย่างเร่งด่วน

ศูนย์เครือข่ายU2Tมข.เพื่อแก้ไขปัญหาโรคระบาดลัมปีสกินในโค-กระบืออีสาน โดย โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล, U2T) ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการภาครัฐที่อยู่ใกล้ประชนในระดับหมู่บ้าน กลไกนี้ทำหน้าที่เชื่อมโยงการแก้ปัญหาตามความต้องการของพื้นที่ตำบล U2T กับศูนย์เครือข่ายฯ ทั้ง Onsite และ Online  ภารกิจบริการ คือ     การให้ความรู้ และพัฒนาบุคลากร โดยการ  1) สร้างห้องเรียนออนไลน์ ผลิตแผ่นความรู้ วีดีโอคลิป และข่าวสาร สำหรับเกษตรกรและผู้สนใจ  2) เปิดหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการเลี้ยงดูโค-กระบือ การป้องกันและรักษาโรคลัมปีสกิน สำหรับบัณฑิตจบใหม่ U2T ประชาชน U2T สัตวแพทย์อาสา สัตวบาลอาสา ปศุสัตว์หมู่บ้าน และเกษตรกร  3) บริการเคลื่อนที่ “มข.อาสารักษาวัวลัมปีสกิน U2T” ตามคำขอของตำบล U2T เราให้บริการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันและรักษาโคป่วยติดเชื้อ สำหรับปศุสัตว์หมู่บ้าน เป็นการสร้างบุคลากรในพื้นที่ระดับชุมชนเพื่อให้ชุมชนช่วยเหลือตนเองได้ทันท่วงทีของสัตว์ เกิดโรคระบาด เจ็บ ไข้ และป่วย รวมทั้งแนวทางการสร้างกองทุนยาสัตว์ในระดับหมู่บ้าน 4) ให้บรการห้องปรึกษาออนไลน์ เช่น สายด่วนปรึกษาแก้ปัญหาลัมปีสกิน โทร: 0897117898 เว็บไซต์ความรู้ลัมปีสกิน: https://th.kku.ac.th/lumpy-skin-disease/ ห้องไลน์: “มข.อาสารักษาวัวลัมปีสกินU2T” หรือห้อง ZOOM เป็นต้น

ผู้นำทีมโคบาลอาสา กล่าวต่ออีกว่า  สำหรับกำหนดระยะเวลาในการลงพื้นที่นั้น เราได้มีการขับเคลื่อนแผนงาน และกิจกรรมดังกล่าวแล้ว เช่น พื้นที่ตำบลบ้านแท่น อำเภอชนบท พื้นที่ตำบลโคกสง่า อำเภอพล ตำบลห้วยตึ๊กชู จังหวัดศรีสะเกษ  โดยในเดือนกรกฎาคม นี้ มีพื้นที่ตำบล U2T ของคณะวิชาต่าง ๆ แจ้งขอความช่วยเหลือมาแล้ว เช่น วันที่ 7 กรกฎาคม 2564  อ.ซำสูง และ อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น   วันที่ 8 กรกฎาคม 2564  อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น  วันที่ 9 – 11 กรกฎาคม 2564  อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์   วันที่ 12 – 15 กรกฎาคม 2564  อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น  และ วันที่  22 – 23 กรกฎาคม 2564 อ.ชนบท จ.ขอนแก่น  โดยเรามีการประเมินภาพความสำเร็จในการลงพื้นที่ดำเนินโครงการด้วย ซึ่งตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการนี้ คือ 1) ระดับความอุ่นใจของเกษตรกร 2) การลดอัตราการตายของวัว/ลดต้นทุน/ลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจพื้นที่รับบริการระดับตำบล/หมู่บ้านเปรียบเทียบกับพื้นที่ Non-U2T (พื้นที่ที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ) 3) ความพึงพอใจของทีม “มข.อาสารักษาลัมปีสกิน”

รศ.ดร.กฤตพล สมมาตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะผู้นำทีมโครงการโคบาลอาสา  กล่าวในตอนท้ายว่า  จากการร่วมทีมกันทำกิจกรรมในโครงการโคบาลอาสาที่มีทั้งอาจารย์จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากคณะเกษตรศาสตร์ หรือสุดท้าย กลายมาเป็นโครงการ    มข.อาสาที่มีเครือข่ายคณะหน่วยงานเข้ามาร่วมโครงการเพิ่มขึ้น ความรู้สึกทั้งหมดของพวกเรานั้นเป็นความรู้สึกในฐานะที่เสมือนเราและทีมงานลงพื้นที่ทั้งหมดเป็นผู้แทน มข. ไปปฏิบัติหน้าที่ ชุมชนเดือนร้อน มข. เรามีองค์ความรู้ และบุคลากรทั้ง นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร พร้อมช่วยเหลือสังคมในภาวะวิกฤต ทั้งโรคระบาดโควิด-19 และโรคลัมปีสกินในโค-กระบือ ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมงาน “มข. อาสารักษาวัวลัมปี สกิน” ด้วยกันครับ ทั้งในด้านการแปลงร่างภารกิจหน้าที่เร่งด่วน (Mission Transformation) เป็น “สัตวแพทย์อาสา สัตวบาลอาสา” อาสาลงพื้นที่ หรือ การบริจาคสนับสนุนเงินทุนจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ “กองทุนยาสัตว์ประจำหมู่บ้าน” ช่วยชีวิตวัวทั้งตัวได้บุญได้กุศลครับ

 

รวบรวม ข่าว : เบญจมาภรณ์  มามุข

ข้อมูล ภาพ : โครงการโคบาลอาสา คณะเกษตรศาสตร์ 

Voluntary Cowboy Project – a cooperation between Faculty of Agriculture and Faculty of Veterinary Medicine, KKU under the KKU U2T Project – ready to fight against the lumpy skin disease in Isan

https://www.kku.ac.th/11599

 

 

Scroll to Top