คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.โดย ศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์และอีเว้นท์เชิงธุรกิจ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพร้อมเก็บข้อมูลโครงการ (U2T) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผ้าถิ่นรองรับการเป็นเมืองหัตถกรรมโลก

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มข.โดย ศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์และอีเว้นท์เชิงธุรกิจ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพร้อมเก็บข้อมูลโครงการ (U2T) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลผ้าถิ่นรองรับการเป็นเมืองหัตถกรรมโลก

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์และอีเว้นท์เชิงธุรกิจ ดำเนินรายงานผลโครงการยกระดับเศรษฐกิจและชุมชนแบบบูรณาการ (U2T) 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น พร้อมสรุปผลโครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำฐานข้อมูลผ้าถิ่นเพื่อรองรับการเป็นเมืองหัตถกรรมโลก

 

เมื่อวันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2564 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ศูนย์ความเป็นเลิศอุตสาหกรรมไมซ์และอีเว้นท์เชิงธุรกิจ นำทีมโดยอาจารย์ผู้ดูแลโครงการ ผศ.ดร ดลฤทัย โกวรรธนะกุล และอาจารย์กมนภา หวังเขื่อนกลาง ได้ลงพื้นที่จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำฐานข้อมูลผ้าถิ่นเพื่อรองรับการเป็นเมืองหัตถกรรมโลก การอบรมนอกจากจะบอกถึงที่มาและความสำคัญของผ้าทอพื้นเมืองที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นแล้ว ยังกล่าวถึงประโยชน์ในการจัดทำฐานข้อมูลผ้าพื้นถิ่น รวมถึงให้ความรู้ในการเก็บข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดทำบันทึกหลักฐานข้อมูลผ้าทอพื้นถิ่นให้กับผู้เข้าร่วมอบรมและผู้ถูกจ้างงาน วิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้ นำโดย รศ.ดร วิศปัตย์ ชัยช่วย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมด้วย ผศ.ดร ดลฤทัย โกวรรธนะกุล และ อาจารย์กมนภา หวังเขื่อนกลาง คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทำการจัดอบรมแบบเว้นระยะห่างทั้ง Online และ Onsite ตามมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม มีการวัดอุณหภูมิและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์

ภายใต้พื้นที่ตำบลห้วยเตยมีจำนวนหมู่บ้านที่เก็บข้อมูลทั้งหมด 1 หมู่บ้านคือบ้านห้วยเตยและจำนวนกี่ทอผ้าที่เก็บข้อมูลทั้งหมด 16 กี่ พบว่าลายผ้าทอพื้นถิ่นทั้งหมดที่เก็บข้อมูลของกลุ่มทอผ้าตำบลห้วยเตยได้รับวัฒนธรรมมาจากกลุ่มไทยอีสานมีลวดลายที่สวยงามจากการสืบทอดจากบรรพบุรุษและการสร้างลวดลายขึ้นใหม่ซึ่งผ้าทอใช้วิธีการย้อมสีเคมีทั้งหมด ถือเป็นเรื่องท้าทายที่จะต้องพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการย้อมสีธรรมชาติต่อไป นอกจากนี้ยังมีบางหลังคาเรือนได้เคยนำผ้าทอไปจัดแสดงในงานแสดงสินค้า OTOP อีกด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการลงพื้นที่และเก็บข้อมูลในครั้งนี้มีวิทยากร 3 คน ผู้เข้าอบรม 30 คน และมีสมาชิกผู้ได้รับการจ้างงานในพื้นที่จำนวน 17 คน ณ กลุ่มทอผ้าในพื้นที่ตำบลห้วยเตย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

หลังจบการอบรมโครงการในครั้งนี้พบว่าผู้เข้าอบรมสามารถจัดเก็บฐานข้อมูลผ้าพื้นถิ่นของพื้นที่ตำบลห้วยเตยได้อย่างมีระบบ และสามารถนำไปใช้ในการอนุรักษ์และเป็นประโยชน์ต่อการเป็นเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่ (WCC- Word Craft  City For Ikat (Mudmee) Textiles) ต่อไป

รวบรวมข่าว : เบญจมาภรณ์  มามุข

Scroll to Top